ชีวิตการทำงานที่เป็นวิศวกะมา คือเรียนจบมาอย่างแต่เมื่อมาทำงานจริงก็ต้องเป็นเสียทุกอย่างตามที่เขาจะสั่งลงมา ผลที่ได้ก็เลยมีทั้งที่สำเร็จและผิดพลาด

ครั้งหนึ่งตอนที่ต้องมาออกแบบวางผังโรงงานให้กับบริษัท Sub-Contract เล็กๆ แห่งหนึ่งซึ่งมีคนงานเกือบๆ 100 คนได้ บริษัทเป็นโรงงานที่รับช่วงงานประกอบเครื่องรับโทรศัพท์ให้กับบริษัทเกาหลีที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง

ตอนนั้นผมติดต่อเช่าโรงงานเก่าซึ่งเป็นโกดัง (เคยเป็นโรงงานผลิตรองเท้ามาก่อน) ซึ่งมีพื้นที่กว่า 4000 ตรม. แล้วนำมาออกแบบวางผังเพื่อทำเป็นโรงงานอิเล็กโทรนิกส์ ในการออกแบบวางผังโรงงานมีเรื่องหลากหลายให้ต้องทำ ขอเอางานย่อยๆ บางงานที่เจอปัญหามาเล่าให้ฟังกัน
งานนี้เป็นการออกแบบระบบดูดควัน (ventilation system)เพื่อระบายอากาศเสีย (ควันตะกั่ว) ที่จะต้องเกิดจากขั้นตอนการทำงาน

ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือการออกแบบความแรงหรือความสามารถในการดูดอากาศที่ไม่เหมาะสมจะทำให้อากาศที่หมุนเวียนภายในโรงงานซึ่งมีการติดเครื่องปรับอากาศไม่เกิดความสมดุลย์ หากเครื่องดูดอากาศมีความแรงมากเกินก็จะทำให้ดูดเอาความเย็นออกไปทิ้งภายนอกทำให้ระบบปรับอากาศทำงานอย่างหนัก หรือหากเครื่องดูดอากาศทำงานต่ำกว่าที่ควรจะเป็นก็จะทำให้ควันตะกั่วกระจายอยู่ในสถานที่ทำงานและเป็นอันตรายกับพนักงานในระยะยาว (เคยศึกษาข้อมูลมาบ้างว่าโรงงานใหญ่ๆ ที่มีระบบดูดควันหรือระบายอากาศที่ดีเขาจะไม่ดูดนำอากาศออกไปทิ้ง แต่จะมีการฟอกอากาศให้สะอาดแล้วปล่อยให้ไหลเวียนกลับเข้ามาใช้ใหม่ในอาคาร แต่น่าจะเป็นโรงงานไฮโซ ที่ทำพวกสารกึ่งตัวนำ หรือพวกฮาร์ดดิสอะไรทำนองนั้นเสียมากกว่า)

ปัญหาที่ผมเจอก็คือว่าได้ติดตั้งหอยโข่งใหญ่ยักษ์เกินความจำเป็นเพราะสาเหตุจากคำนวนกำลังการผลิตที่ผิดพลาด (วางแผนกำลังการผลิตเต็มรูปแบบครบวงจร แต่เมื่อทำจริงได้ Order งานจากผู้ว่าจ้างมาไม่มากเท่าที่วางแผนไว้)
และทั้งๆ ขณะเดียวกันตอนนั้นโรงงานได้ทำการติดตั้งระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ถึง 6-7 ตัวได้ และแต่ละตัวก็ทำความเย็นหากจำไม่ผิดประมาณตัวละ 2 แสน BTU เรียกได้ว่าหากไม่มีการเปิดใช้งานระบบดูดควันตะกั่วแล้ว เปิดแอร์แค่สัก 4 เครื่องยังหนาวๆ ร้องขอให้ปิดกันเลย5+
แต่พอเมื่อต้องเปิดระบบดูดควันขึ้นมามันก็เลยดูดความเย็นเอาไปทิ้งภายนอกอาคารแล้วก็ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานแบบจะตลอดเวลา

เนื่องจากระบบที่ออกแบบไว้มันเป็นระบบท่อร่วมซึ่งไม่สามารถจะเบาเครื่องได้ ทำได้แค่ปิดวาวล์ท่อดูดลมในบางตำแหน่งที่ไม่ได้ใช้งาน แต่ปัญหาก็จะตามมาเมื่อแรงดูดของลมมันมหาสารแต่ไปปิดทางผ่านลมก็จะทำให้ระบบท่อเกิดการยุบตัว (บี้แบนแต๊ดแต๋ไปเลยผมก็เคยเจอ5+)

หลังจากเจอกับปัญหาที่ว่ามา ตอนหลังๆ เมื่อโรงงานมีการต้องขยายพื้นที่การทำงานที่จะต้องมีการติดตั้งระบบดูดควันผมจึงได้ลองคิดใหม่ทำใหม่ ด้วยการแยกระบบดูดควันออกเป็นจุดๆ ตำแหน่งของใครของมันโดยแยกมอเตอร์หอยโข่งเป็นตัวเล็กๆ ใครจะใช้งานก็เปิดใช้งานเฉพาะของตัวเองไป ตำแหน่งไหนไม่ใช้ก็ปิด ทำให้ประหยัดได้เป็นอย่างดี (1 ชุดที่ติดตั้งจำได้ว่าลงทุนไม่น่าเกินห้าพันบาท) นอกจากนั้นยังไม่ต้องทำการจ้างผู้รับเหมาเดินระบบท่อเมนเพื่อไปต่อเชื่อมเข้ากับระบบท่อเดิมให้สิ้นเปลืองอีกด้วย (ประหยัดได้อีกเป็นแสนๆ)